-:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่แผนกวิชาสถาปัตยกรรม ::-


ประวัติ

แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (1869-1959) เป็นสถาปนิกอเมริกันเกิดที่ริชมอนด์ (richmond center ,wisconsin) 
เมื่อเดือน june 8,1869 เป็นเด็กบ้านนอกมีพ่อเป็นนักเทศน์ ได้เข้าเรียนวิศวกรรม ( civil engineering ) 
ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ระยะหนึ่ง แล้วเดินทางไปชิคาโกเพื่อแสวงหาชื่อเสียง ในปี 1887 
ได้เข้าทำงานกับ หลุยส์ซุลลิแวน ซึ่งเป็นสำนักงานของ ซุลลิแวนและแอดเลอร์ ( sullivanand adler ) 
ในขณะนั้นซุลลิแวนได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกในงานสถาปัตยกรรม เมื่อทำงานอยู่กับซุลลิแวนได้สักชั่วระยะเวลาหนึ่งเกิดมีความคิดที่ไม่ตรงกัน
จึงแยกตัวออกไปทำงานส่วนตัว แต่อย่างไรก็ดีไรท์ก็ยังมี
อิทธิพลของซุลลิแวนครอบงำอยู่งานของไรท์ที่เรียกได้ว่าเริ่มจาก
1880-1950 แสดงการต่อเนื่องระหว่างสถาปัตยกรรมต้นแบบ กับสถาปัตยกรรมแบบใหม่
     และมนุษย์เข้าไปใช้สอยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยฝีมือและสติปัญญาของสถาปนิก เครื่องมือสำคัญที่จะก่อให้เกิดลักษณะดังกล่าวนั้น ไรท์ได้ใช้ space เป็นหลักโดยมีความคิดที่เข้าใจถึงลักษณะกิจกรรมใหม่ๆของมนุษย์ที่ต่างออกไปจาก
งานของไรท์ที่เรียกได้ว่าเริ่มจาก1880-1950 แสดงการต่อเนื่องระหว่างสถาปัตยกรรมต้นแบบใน คศ.1910 กับสถาปัตยกรรมแบบใหม่
ไรท์ต้องการสร้างงานสถาปัตยกรรมแบบใหม่ในอเมริกา ซึ่งหยั่งรากแน่นหนาอยู่กับรูปทรงแบบท้องถิ่น ส่วนตัวไรท์เองนั้นก็ได้รับอิทธิพลของ art and crafts ของอังกฤษและยังได้รับอิทธิพลของพวกมายันและอเมริกันอินเดียน อิทธิพลแบบอาคารโครงไม้ของพวกบุกเบิกและยิ่งไปกว่านั้นไรท์ยังได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างแนบแน่น ในปี 1893 ตั้งสำนักงานของตนเองและประกาศตัวเป็นนักปฏิวัติงานสถาปัตยกรรม
    สมัยแรกในปี 1910 ถือเป็นสมัยที่ 1 ได้อุทิศตัวให้กับงานสถาปัตยกรรมเกือบทั้งหมด เขามองเห็นบ้านพักอาศัยเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของ landscape และได้มีความผูกพันกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็เลยสร้างบ้านที่เรียกว่า prarie house ซึ่งอยู่ที่ taliesin เป็นบ้านที่โจทย์ขานกันมาก งานชิ้นนี้ถือเป็นหลักของ organic architecture ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยมีรากฐานซึ่งยึดถือเป็นหลักได้ดังนี้

  1. horizontality

  2. domestic symbolic

  3. sympathy with the site

  4. truth to materials

  5. character

ภาพผลงานการออกแบบ

ผลงานชิ้นนี้ไฟไหม้ในปี 1914 แต่ก็ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ถือว่าเป็นตัวอย่างของบ้านซึ่งเป็นเสมือนอันหนึ่งอันเดียวกันกับ landscape สมัยที่ 2 เริ่มด้วยการสร้างอิมพีเรียลโฮเต็ลในโตเกียวในปี 1916-1922 แล้วจบสมัยที่ 2 ด้วยการ

สร้าง kaufmann house ( บ้านน้ำตก) ใกล้ พิตต์สเบิร์ก

เพนซิลวาเนีย ในปี 1936

สมัยที่ 3 เริ่มต้นด้วย admin.bldg.,johnson wax co.,ที่ racine,wis. สร้างเสร็จปี 1936 ส่วนงานที่ทำค้างไว้ก่อนถึงแก่กรรมคือ new york,city bldg.,the solomon r.guggenheim museum ซึ่งถูกเรียกว่าอนุสาวรีย์ของไรท์ ส่วน winter home ที่ taleisin west นอกเมืองฟินิกซ์ ซึ่งก่อสร้างในปี 1938 นั้น ไรท์ได้ใช้บ้านนี้เป็นทั้งสำนักงานและโรงเรียนของเขาเอง การสร้างก็ใช้ฝีมือแรงงานของลูกศิษย์ที่สมัครเข้าเรียน

organic architecture สถาปัตยกรรมที่มีชีวิตของไรท์ เป็นสถาปัตยกรรมที่มี element ต่างๆประกอบกันเข้าอย่างสมบูรณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งในตัวของมันเองและกับสภาพแวดล้อมโดยจะแยกออกจากกันมิได้ ความจริงแล้วไรท์ไม่เคยให้คำอธิบายของคำนี้คงมีแต่บรรดาลูกศิษย์และผู้ที่ศึกษางานของไรท์ต่างพยายามตีความหมายต่างๆกันออกไปแต่พอสรุปลงได้ว่า ไรท์มิได้มองงานสถาปัตยกรรมไปในแง่การใช้สอยหรือความงดงามอย่างใดอย่างหนึ่งที่แยกจากกันแต่ทั้งสองอย่างต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

สถาปัตยกรรมมีจุดประสงค์เบื้องต้นเพื่อการใช้สอย แต่มิได้หมายความว่าได้สิ้นสุดลงเพียงนั้นเพราะความสมบูรณ์ควรจะเกิดขึ้นต่อเมื่อทั้งอาคารและมนุษย์เข้าไปใช้สอยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยฝีมือและสติปัญญาของสถาปนิก เครื่องมือสำคัญที่จะก่อให้เกิดลักษณะดังกล่าวนั้น ไรท์ได้ใช้ space เป็นหลักโดยมีความคิดที่เข้าใจถึงลักษณะกิจกรรมใหม่ๆของมนุษย์ที่ต่างออกไปจาก
สมัย classic และ neo classic ซึ่งมีลักษณะ space ที่ rigid formal symmetry ( ส่วนในสมัยที่ย้อนหลังไปกว่านี้คือ
กรีก และอียิปต์ ก็ยิ่งไม่สนใจใน space ไปมากกว่าเรื่อง propertion and visual effect )
ไรท์มีความคิดว่า space เป็นของที่เลื่อนไหลได้อันหนึ่ง ธรรมชาติของมันย่อมต่อเนื่องและมี plastic quality ไรท์เป็น สถาปนิกอเมริกันคนแรกที่ปฏิเสธแนวความคิดของคลาสสิคโดยสิ้นเชิง และภายหลังยังได้สร้างคาแรคเตอร์จากลักษณะท้องถิ่นของอเมริกาขึ้นมาอีกด้วย สำหรับผลงานมากมายของไรท์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเอาเอง ไรท์ เสียชีวิตที่ phoenic,arizona april 9,1959


[ย้อนกลับ]
[กลับหน้าหลัก]

วิทยาลัยเทคนิคยะลา